เมนู

จริงอยู่ ในวาทะที่ว่าเป็นอนาบัติและอาบัติเป็นต้นนี้ มีความต่างกัน
ในเพราะเหตุสักว่าชื่อเท่านั้น, ในนัยแห่งการประกอบความหามีความต่างกัน
ไม่, เพราะฉะนั้น การประกอบความ ท่านจึงไม่ทำให้พิสดาร. เมื่อเกิดคำ
วินิจฉัยถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ฝ่ายใด ได้พบเหตุ
มากมาย ในสูตร สุตตานุโลม อาจริยวาท และอัตโนมัติ, ควรตั้งอยู่ในวาทะ
ของฝ่ายนั้น. อนึ่ง ทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ได้พบเหตุและคำวินิจฉัย โดยประการ
ทั้งปวง ไม่ควรละทิ้งสูตร ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น ฉะนี้แล. พระวินัยธร
ผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และวินัย
วินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย 4 อย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

[พระวินัยธรประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่าง]


ก็แล บุคคลผู้ทรงวินัย แม้ครั้นทราบวินัย 4 อย่างนี้แล้ว ก็ควร
เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ 3. จริงอยู่ ลักษณะแห่งพระวินัยธร 3 อย่าง
ควรปรารถนา. ลักษณะ 3 อย่าง เป็นไฉน? ลักษณะ 3 อย่าง คือ:-
คำว่า ก็สูตรของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้องคล่องแคล่วดี
วินิจฉัยดี โดยสูตร โดยพยัญชนะ1 นี้เป็นลักษณะอันหนึ่ง. คำว่า ก็พระ-
วินัยธรนั้น เป็นผู้มั่นคง ไม่ง่อนแง่นในวินัยแล นี้เป็นลักษณะที่สอง. คำว่า
ก็ลำดับอาจารย์แล เป็นลำดับที่พระวินัยธรนั้นจำได้ถูกต้อง ทำให้ขึ้นใจไว้ดี
ใคร่ครวญถูกต้องดีแล้ว2 นี้เป็นลักษณะที่สาม.

[อรรถาธิบายลักษณะ 3 ของพระวินัยธร]


ในคำว่า สุตฺตญฺจ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- วินัยปิฎกทั้งสิ้น
ชื่อว่าสูตร, สูตรนั้นของพระวินัยธรนั้น เป็นพุทธพจน์ที่มาถูกต้อง คือมา
ด้วยดี
1-2. นย. วิ. ปริวาร. 8/329.